คำแปลคลิป YouTube-N30
- Read 6430 times
- font size decrease font size increase font size
คำแปลของบทสนทนาในคลิปเรียนภาษาอังกฤษทาง YouTube #N30
ตอนที่ N30: การฝึกแก้ประโยคภาษาอังกฤษที่คนไทยมักพูดผิดให้ถูก Grammar (สอนโดย อ.พิบูลย์ และเพื่อนชาวอเมริกัน Jim Barren)
ลิงค์ https://www.youtube.com/watch?v=aG0NlquEdcw
P: I would like you to meet my guest, Jim. Hello, Jim! How are you doing? (ผมขอเชิญให้คุณพบกับแขกรับเชิญของผม [ที่ชื่อว่า “จิม”] สวัสดีครับจิม คุณเป็นอย่างไรบ้าง)
J: Hello! I'm doing fine. (สวัสดี ผมสบายดี)
P: I know you as Jim. What is your last name? (ผมรู้จักคุณในนามของจิม คุณนามสกุลอะไรครับ)
J: Barren. (แบเริ่น)
P: Jim Barren (จิม แบเริ่น)
P: How long have you lived in Fort Lauderdale? (คุณอยู่ที่เมืองฟอร์ท ลอเดอร์เดลมานานแค่ไหนแล้วครับ)
J: I have been here for 32 years. I moved here from California in 1984. (ผมอยู่ที่นี่มา 32 ปีแล้ว ผมย้ายมาจากรัฐแคลิฟอเนียในปี ค.ศ. 1984 (พ.ศ. 2527)
P: You don't look that old. (คุณไม่ได้ดูอายุมากขนาดนั้นนะ)
J: I'm only 500 years old. (ผมอายุแค่ 500 ปีเท่านั้นเอง)
P: What do you do for a living here in Fort Lauderdale? (คุณทำอาชีพอะไรในเมืองฟอร์ท ลอเดอร์เดล)
J: I'm an artist. I did that, right back there. (ผมเป็นศิลปิน ผมวาดรูปที่อยู่ข้างหลังนั่น)
P: The picture that you see behind us is his work. (รูปภาพที่คุณเห็นอยู่ข้างหลังเรานั้นเป็นผลงานการวาดของจิมครับ)
P: What kinds of drawings or paintings do you like to make? (คุณชอบสร้างสรรค์งานวาดภาพหรือภาพระบายสีประเภทไหนบ้างครับ)
J: My specialty is satirical drawings of target professions and sports, and life situations. (ความเชี่ยวชาญของผมก็คือการวาดภาพเสียดสีสังคมที่เน้นกลุ่มอาชีพที่ผมสนใจแล้วก็ด้านกีฬา แล้วก็เหตุการณ์ต่างๆ ในชีวิตของคนเรา)
GOOD FRIENDS … They couldn't decide what to wear. (เพื่อนที่ดี ... พวกเขาอาจจะตัดสินใจไม่ถูกว่าจะแต่งตัวอย่างไรดี [เวลาที่นัดมาเจอกัน])
(ที่บ้านจิม มีสระว่ายน้ำที่แขวนป้ายเอาไว้ว่า “Clothing Optional” ซึ่งแปลว่า จะใส่เสื้อผ้าลงว่ายน้ำหรือไม่ใส่ก็ได้)
P: Jim, because you have that sign on, "CLOTHING OPTIONAL", have you ever done swimming with no bathing suit on? (จิม เนื่องจากว่าคุณมีป้ายแขวนเอาไว้ว่า “จะใส่ชุดว่ายน้ำหรือไม่ใส่ก็ได้” คุณเคยว่ายน้ำโดยไม่ใส่กางเกงว่ายน้ำหรือเปล่า)
J: I don't even know how to swim with clothing on. (ผมไม่รู้จะว่ายน้ำอย่างไรเลย ถ้าหากมีเสื้อผ้าอยู่บนตัวผม)
P: So, let's get to our questions. I have about 20 or 21 questions for you. (ถ้าอย่างนั้น เรามาเข้าสู่คำถามกันเลยก็แล้วกัน ผมมีประมาณ 20-21 คำถามที่จะให้คุณตอบ)
J: Only 21 questions. (แค่ 21 คำถามเท่านั้นเองเหรอ)
P: Only 21 and it will take you only half an hour. (แค่ 21 คำถามเท่านั้น แล้วมันก็จะใช้เวลาเพียงแค่ครึ่งชั่วโมงเท่านั้น)
P: Would you mind that? (คุณจะว่าอะไรมั้ยเนี่ย)
J: We'd better move a little faster than that or tear your list of questions. Tear the questions in half. (งั้นเราน่าจะสนทนากันให้เร็วกว่านี้สักหน่อยนะ หรือไม่ก็ฉีกกระดาษคำถามของคุณซะ ฉีกคำถามให้เหลือแค่ครึ่งเดียว)
P: We have known each other for only 3 days. Jim has never seen the questions that I wrote on this paper. (เราสองคนเพิ่งรู้จักกันมาแค่ 3 วัน แล้วจิมเขาก็ไม่เคยเห็นคำถามที่ผมเขียนลงบนกระดาษนี้)
J: Piboon, I can't make any sense at all of what you're saying. (พิบูลย์ ฉันไม่รู้เรื่องเลยว่าคุณกำลังพูดเรื่องอะไรอยู่)
P: I was just explaining to the viewers that I am going to read out each of these questions very slowly and clearly because they are not grammatical. (ผมแค่กำลังอธิบายให้ผู้ฟังฟังว่า ผมกำลังจะอ่านคำถามแต่ละข้ออย่างช้าและชัดมากๆ เนื่องจากว่าพวกคำถามเหล่านี้มันผิดแกรมม่า)
P: So, if I read too fast, you may understand that they are grammatical. I have to read very slowly and clearly. Are you ready? (ดังนั้น ถ้าเกิดผมอ่านเร็วเกินไปเนี่ย คุณอาจจะเข้าใจว่าประโยคเหล่านั้นมันถูกแกรมม่าก็ได้ ผมก็เลยจำเป็นต้องอ่านให้ช้าๆ และชัดๆ หน่อย คุณพร้อมหรือยังครับ)
P: I have two parts. The first part is about the verbs and the verb forms. The other part is about parts of speech. (ผมมี [วิดีโอกับจิม] 2 ตอนนะครับ ตอนแรกจะเกี่ยวกับการใช้คำกริยาและรูปฟอร์มของคำกริยา ส่วนอีกตอนหนึ่งจะเกี่ยวกับคำประเภทต่างๆ)
P: Okay, are you ready to correct me? (โอเค คุณพร้อมที่จะแก้ผมหรือยัง)
J: OK. (โอเค พร้อมแล้ว)
P: The first one is, "Are you enjoy it?" (ข้อแรกคือ “คุณสนุกหรือมีความสุขกับมันไหม” – ประโยคนี้ผิดแกรมม่า)
J: That should be, "Are you enjoying it?" or "Have you enjoyed it?", something like that. (มันควรจะเป็น Are you enjoying it? หรือ Have you enjoyed it?)
P: Jim corrected this sentence as “Are you enjoying it?” or “Have you enjoyed it?” (จิมแก้ประโยคนี้เป็น Are you enjoying it? หรือไม่ก็ Have you enjoyed it?)
P: Or, you could ask this thing as: "Do you enjoy it?" (หรือว่าคุณอาจจะถามสิ่งนี้เป็น Do you enjoy it? ได้มั้ย)
J: Yes. (ได้)
P: Let's move on to the second one. (ไปข้อสองต่อกันเลยนะครับ)
P: What do you doing? (คุณกำลังทำอะไรอยู่ – ประโยคนี้ผิดแกรมม่า)
J: "What are you doing?" would be more correct. (แก้เป็น What are you doing? จะถูกกว่า)
P: The third one. There is so many bugs in your swimming pool. (ข้อที่สาม “มีแมลงมากมายหลายตัวอยู่ในสระว่ายน้ำของคุณ – ประโยคนี้ผิดแกรมม่า)
J: I hope I scooped them all out. (ฉันหวังว่าฉันได้ช้อนมัน [แมลงพวกนั้น] ขึ้นมาหมดแล้วนะ)
P: No, please correct my sentence. (ไม่เอาน่ะ กรุณาแก้ประโยคของผมให้ถูกต้องด้วย)
J: That should be "are", Piboon. There are so many bugs in your swimming pool. (มันควรจะเป็นคำว่า “are” แทนคำว่า “is” นะพิบูลย์ ที่ถูกควรจะเป็น There are so many bugs in your swimming pool.)
P: The fourth one. I never do this in my whole life. (ข้อสี่ ฉันไม่เคยทำสิ่งนี้มาก่อนเลยในชีวิต – ประโยคนี้ผิดแกรมม่า)
J: I have never done this in my whole life. (แก้ประโยคที่ผิดข้างบน ให้เป็นไปตามประโยคนี้)
P: The fifth one is asked when you want to know if the person you're talking to has already had lunch. So, the question is, "Do you have lunch?" (ข้อห้านี่จะถูกถามเมื่อคุณอยากจะรู้ว่าบุคคลที่คุณกำลังพูดอยู่ด้วยเนี่ยได้ทานข้าวเที่ยงมาแล้วหรือยัง ดังนั้นคำถามที่ผมจะให้คุณแก้ก็คือ “คุณทานอาหารเที่ยงใช่ไหม” – ประโยคนี้ผิดแกรมม่า)
J: That could be correct if you're asking me if I have lunch. But, more correctly, it should be "Have you had lunch?" (ประโยคที่คุณอ่านมามันก็สามารถจะถูกต้องได้นะถ้าความหมายของคุณคือคุณอยากจะรู้ว่าว่าผมเป็นคนที่ทานอาหารเที่ยงไหม แต่ที่ถูกกว่าในเหตุการณ์นี้ควรจะเป็น Have you had lunch?)
P: The sixth one is asked when a person, for example, you and me. I have to go away for a little while. And then, when I get back, I say to you, "Hey, I come back!" OK, let me explain it to my viewers. (ข้อหกนี่จะถูกถามเมื่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ยกตัวอย่างเช่น คุณกับผม คือผมต้องออกไปไหนสักพักหนึ่ง แล้วเมื่อผมกลับมา ผมก็พูดกับคุณว่า “Hey, I come back.” โอเค ขอผมอธิบายให้ผู้ฟังของผมได้ฟังสักหน่อย)
P: In this situation, I have gone away, I have come back and I say to you, "I come back." (ในเหตุการณ์แบบนี้ ผมได้ออกไปที่ไหนสักแห่งหนึ่ง แล้วผมก็ได้กลับมาที่เก่าแล้ว และผมพูดกับคุณว่า “ผมกลับมา” – ประโยคนี้ผิดแกรมม่า)
J: Yes, that would be incorrect even though I'd understand you. More correct would be, "I have come back." or simply, "I'm back." (ใช่ครับ ประโยคนั้นมันผิดแกรมม่า ถึงแม้ว่าผมจะเข้าใจคุณก็ตาม ที่ถูกต้องกว่าจะต้องเป็นว่า I have come back. หรือง่ายๆเลยนะคือ I’m back.)
P: You have a guest. Do you need to talk to him? Not for now because you are my guest. (มีคนมาหาคุณอ่ะ คุณจำเป็นต้องไปคุยกับเขาหรือเปล่า คงไม่ใช่ตอนนี้นะเพราะว่าตอนนี้คุณกำลังเป็นแขกของผมอยู่)
J: Uno momento por favor! (= One moment, please!) (รอสักครู่หนึ่งนะครับ – ภาษาสเปน)
J: Sorry for the Spanish. (ขอโทษด้วยนะสำหรับภาษาสเปน)
P: You speak Spanish. (That's) Very good. (คุณพูดภาษาสเปนด้วย ดีจัง)
P: He walk very slowly. (เขาเดินช้ามาก – ประโยคนี้ผิดแกรมม่า)
J: He's walking very slowly. (เขากำลังเดินอย่างเชื่องช้ามาก)
P: What about, "He walks very slowly."? Is it okay? (แล้วแก้เป็น He walks very slowly. ล่ะ ได้มั้ย)
J: That would be okay. (แบบนั้นก็ได้นะ)
P: The eighth one is asked when you see a person, you want to ask that person whether he or she has finished their lunch or using the bathroom. And the question is, "Do you finish?" (ข้อแปดนี่จะใช้ถามเมื่อคุณเห็นใครสักคนหนึ่ง คุณอยากจะถามเขาหรือหล่อนว่า เขาได้ทานข้าวเที่ยงเสร็จเรียบร้อยแล้วใช่ไหม หรือได้ใช้ห้องน้ำเสร็จเรียบร้อยแล้วใช่ไหม คำถามของผมก็คือ “คุณทำเสร็จใช่ไหม” – ประโยคนี้ผิดแกรมม่า)
J: It should be, "Have you finished?" (มันควรจะเป็น Have you finished?)
J: Yeah, for instance, "Have you finished lunch?" / "Have you finished with the bathroom?" That would be more correct. (พูดเต็มๆประโยค ก็อย่างเช่น “คุณทานอาหารเที่ยงเสร็จหรือยัง” หรือ “คุณเสร็จภารกิจกับห้องน้ำแล้วใช่ไหม”)
P: What about, "Are you finished?"? Is it okay? (แล้วใช้ว่า Are you finished? ได้มั้ย)
J: Yes. (ได้สิ)
P: The ninth one! Oh, we've almost come to the end. Are you happy? (ข้อเก้า โอ้! เราเกือบจะถึงข้อสุดท้ายแล้ว คุณดีใจไหม)
J: Delighted. (ดีใจอย่างสุดซึ้งเลย)
P: I've just met you for the first time and I ask you, "Where do you come from?" (ผมเพิ่งได้พบคุณเป็นครั้งแรกแล้วผมก็ถามคุณว่า “(ในชีวิตของคุณ) คุณเดินทางมาจากไหน” – ประโยคนี้ไม่ค่อยจะถูกต้องตามหลักการใช้ภาษาเท่าใดนัก)
J: That would be correct, but also, more colloquial for American English, you would say, "Where are you from?" (ประโยคนั้นมันก็ถือว่าไม่ได้ผิดแกรมม่านะ แต่ถ้าจะให้ฟังดูเป็นภาษาของการสนทนาที่เป็นธรรมชาติตามหลักภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน คุณก็ควรจะพูดว่า Where are you from?)
P: The last one in this segment is, "Do you arrive at my home?" This question will be asked when your guest has arrived at your home and you are worried about him. You call him and ask, "Do you arrive at my home?" Is it correct? (ข้อสุดท้ายในวิดีโอภาคแรกนี้ก็คือ “คุณมาถึงบ้านของผมใช่มั้ย” คำถามนี้จะถูกถามเมื่อแขกที่จะมาพักบ้านคุณเขามาถึงบ้านคุณเรียบร้อยแล้ว แล้วคุณก็เป็นห่วงว่าเขามาถึงบ้านอย่างราบรื่นหรือเปล่า คุณจึงโทรศัพท์ไปหาเขาแล้วถามว่า “คุณมาถึงบ้านของผมใช่มั้ย” ประโยคนี้ถูกหลักการใช้ภาษามั้ย)
J: I would say that's incorrect even though it does communicate. But, the best way to word that question would be, "Have you arrived at my home?" (ผมขอพูดว่ามัน “ผิด” ก็แล้วกัน ถึงแม้ว่ามันจะสื่อสารพอรู้เรื่อง แต่การใช้คำให้เหมาะในคำถามนี้ควรจะเป็น Have you arrived at my home?)
P: Jim, I think we have done it for, like, 15 minutes. I think that should be our first video. Would you mind staying with me for the second one? (จิม ผมคิดว่าเราได้ถ่ายทำวิดีโอกันมาสักสิบห้านาทีได้แล้ว ผมว่ามันน่าจะเพียงพอที่จะเป็นวิดีโอภาคแรกของเราได้ คุณจะรังเกียจไหมที่จะอยู่ต่อเป็นเพื่อนผมสำหรับภาคสอง)
J: I'd be the happiest guy in the world. (ถือว่าผมจะได้เป็นคนที่มีความสุขที่สุดในโลกเลย [ที่จะได้เป็นแขกของคุณในวิดีโอตอนสองต่อ])
P: That's it for now. You will see Jim again in our next video. Bye! (สำหรับวันนี้ก็ขอจบเพียงแค่นี้ครับ คุณยังจะได้เจอกับจิมต่อในวิดีโอตอนหน้า สวัสดีครับ)
สอนและแปลโดย อ.พิบูลย์ แจ้งสว่าง(Home of Naked English – สาขาจรัญสนิทวงศ์-85)